โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Chronic Kidney Disease Prevention in
the Northeast of Thailand

โครงการย่อย

จำนวน 6 โครงการ

โครงการการป้องกันและลดโรคไตเรื้อรังในชุมชน

โครงการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โครงการพัฒนาแนวทางดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอย่างเข้มงวดและครอบคลุมแบบองค์รวม

การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบเข้มงวด

โครงการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโรคไตเรื้อรังสู่ชุมชน

โครงการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ความสำคัญและที่มาของโครงการ

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 เป็นต้นมา
โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease; CKD)

เป็นปัญหาสาธารณ-สุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เพราะมีความชุกที่สูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคไตเรื้อรังแบ่งตามความรุนแรงของโรคเป็น 5 ระยะ ซึ่งจากการศึกษาระบาดวิทยาโรคไตเรื้อรังในชุมชนของประเทศไทย (Thai SEEK Study)พบความชุกของโรคจากระยะที่ 1-5 เท่ากับร้อยละ 3.3, 5.6, 7.5, 0.8 และ 0.3 ตามลำดับ โดยความชุกของโรคไตเรื้อรังจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น มีประชากรเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ทราบว่าตนกำลังเป็นโรคไตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ซึ่งเป็นระยะที่สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ดีนั้น มีผู้ที่รู้ตัวว่าเริ่มมีโรคไตเพียงร้อยละ 0.79, 2.06 และ 5.63 ตามลำดับซึ่งการที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบเพราะในระยะแรกของโรคผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปรกติ และเมื่อมีอาการโรคมักดำเนินไปมากแล้ว นอกจากนี้โรคไตเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มอัตราการเสียชีวิต เมื่อโรคดำเนินไปสู่ระยะที่ 5 และเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease; ESRD) จะทำให้การพยากรณ์ของโรคแย่ลง มีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ตลอดจนค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทต่อคนต่อปี โดยในปี 2555 พบความชุกของผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทยเท่ากับ 905.9 ต่อล้านประชากร และใช้งบประมาณในการบำบัดทดแทนไตในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าในปี 2560 อาจจะต้องใช้งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาท ดังนั้นหากมีระบบคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและค้นพบผู้ป่วยในระยะแรกของโรค และให้ความรู้เรื่องอาหารและการปฏิบัติตัว รวมถึงให้ยาที่เหมาะสม จะสามารถป้องกันและชะลอการเสื่อมของหน้าที่ไตได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าการสูญเสียทรัพยากรไปใช้ในการรักษาระยะท้ายของโรค
อ่านเพิ่ม...

  • สาเหตุจากโรคเบาหวาน
  • สาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูง
  • สาเหตุจากโรคที่มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
  • สาเหตุจากโรค chronic glomerulonephritis

ชื่อหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมโครงการ

Uploaded image

รศ. พญ. ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย

หัวหน้าโครงการ
Uploaded image

ผศ. ดร. อุบล ชาอ่อน

รองหัวหน้าโครงการ
Uploaded image

นพ. ดร. ธนชัย พนาพุฒิ

รองหัวหน้าโครงการ
Uploaded image

นพ. สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์

รองหัวหน้าโครงการ
Uploaded image

ศ. นพ. อมร เปรมกมล

หัวหน้าโครงการย่อย
Uploaded image

รศ. นพ.ชลธิป พงศ์สกุล

หัวหน้าโครงการย่อย
Uploaded image

รศ. ดร. บัณฑิต ถิ่นคำรพ

หัวหน้าโครงการย่อย
Uploaded image

รศ. ดร. จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์

หัวหน้าโครงการย่อย
Uploaded image

รศ. ดร. วนิดา แก่นอากาศ

หัวหน้าโครงการย่อย

ความรู้บริการประชาชน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไต

ความรู้เกี่ยวกับไตเรื้อรัง

โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร

กลเม็ด เคล็ดลับ กินอย่างไร ไตไม่วาย !!

เบาหวาน ภัยเงียบของโรคไต

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อม

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ดูทั้งหมด