ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่มีการเพิ่มขึ้นของแรงดันโลหิตในหลอดเลือดมากกว่า 140/90 มม.ปรอท ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ไม่ทราบสาเหตุ และอีกร้อยละ 10 เกิดจากโรคไต โรคต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด และครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น
ผลกระทบของความดันโลหิตสูงต่อไต
เมื่อมีความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัวขึ้น เกิดหลอดเลือดในไตตีบ ส่งผลให้ไตขาดเลือดและเกิดภาวะไตเสื่อมตามมา ผลแทรกซ้อนอื่นที่สำคัญอื่น ได้แก่ ภาวะหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ
เมื่อมีความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัวขึ้น เกิดหลอดเลือดในไตตีบ ส่งผลให้ไตขาดเลือดและเกิดภาวะไตเสื่อมตามมา ผลแทรกซ้อนอื่นที่สำคัญอื่น ได้แก่ ภาวะหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ
รู้ได้อย่างไรว่าเกิดโรคไตจากความดันโลหิตสูง
ในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่มีอาการ จะทราบเมื่อตรวจเลือดหรือปัสสาวะเท่านั้น แต่เมื่อไตเสื่อมมากขึ้น อาจจะมีอาการ บวม ซีด เหนื่อยเพลีย และเบื่ออาหาร
ในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่มีอาการ จะทราบเมื่อตรวจเลือดหรือปัสสาวะเท่านั้น แต่เมื่อไตเสื่อมมากขึ้น อาจจะมีอาการ บวม ซีด เหนื่อยเพลีย และเบื่ออาหาร
การดูแลและปฏิบัติเพื่อป้องกันและชะลอไตเสื่อม
รับประทานยาสม่ำเสมอ ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 มม ปรอท
ลดความเค็มในอาหาร
ออกกำลังกายและลดน้ำหนักส่วนเกิน
หลีกเลี่ยงการสูบบหรี่และดื่มสุรา
หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารที่มีพิษต่อไต เช่น ยาแก้ปวด