อาหารที่ให้พลังงานพอเพียงจะช่วยป้องกันภาวะทุโภชนาการและช่วยให้ร่างกายใช้โปรตีนที่ถูกจำกัดจากอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โปรตีนจำเป็นในการสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โปรตีนที่รับประทานเข้าไปก่อให้เกิดของเสีย ซึ่งไตจะทำหน้าที่ในการขจัดของเสียที่เกิดขึ้น ถ้ารับประทานมากเกินไป จะทำให้ไตต้องทำงานหนัก แต่หากรับประทานน้อยเกินไปจะทำให้ขาดอาหาร ดังนั้นควรรับประทานอาหารตามที่แพทย์กำหนด
ไขมันเป็นอาหารที่ความจำเป็นต่อร่างกาย ให้พลังงานสูง ไขมันที่ดี เช่น ไขมันไม่อิ่มตัว (น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว) และไขมันไม่ดี เช่น ไขมันอิ่มตัว (น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว กะทิ ไขมันวัว หมูสามชั้น เนย ชีส) ถ้ารับประทานไขมันไม่ดีมากเกินไป จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ควรจำกัดปริมาณโซเดียมนอยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
เมื่อไตเสื่อมจะขับฟอสเฟตลดลง เมื่อระดับฟอสเฟตในเลือดสูง จะทำให้ระดับแคลเซียมต่ำลง และแคลเซียมถูกดึงออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกไม่แข็งแรง นอกจากนั้นฟอสเฟตจะจับกับแคลเซียมในเลือดเกิดเป็นหินปูนอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา
เมื่อไตเสื่อมจะส่งผลให้ไตขับโปแตสเซียมลดลง ถ้าระดับโปแตสเซียมสูงมากเกินไป อาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้น
- ชิมอาหารก่อนปรุงทุกคร้ัง หากเป็นไปได้ปรุงอาหารด้วยตนเอง
- ระวังเกลือ ลดการใช้เครื่องปรุงรสในอาหาร เช่น ผงปรุงรส น้ำปลา ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว ผลชูรส