16/08/2016

โครงการย่อย “โครงการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังแบบเข้มงวด”

  1. ชื่อโครงการ การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังแบบเข้มงวด
  2. หัวหน้าโครงการ รศ.ดร. จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์
  3. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย เปรียบเทียบผลการดำเนินงานปี 2557 2558 2559

รายการ/พ.ศ.

2557 2558 2559

2560

สัมภาษณ์คุณภาพชีวิต สภาวะความจำเสื่อม และต้นทุนโรคไตเรื้อรัง 536 ราย

   4. แผนและผลการดำเนินงาน (การเปรียบเทียบ)

กิจกรรม

เป้าหมาย ช่วงระยะเวลาดำเนินการ

ผลการดำเนินการ*

ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ รพ รพ 4 แห่ง ธค 59-มค 60 ดึงข้อมูล รพ 3 แห่ง เสร็จ
สัมภาษณ์ข้อมูลคุณภาพชีวิตสภาวะความจำเสื่อม และต้นทุน 2,000 ราย จาก รพ 4 แห่ง ธค 59-เมย 60 เก็บข้อมูลได้ 536 ราย จาก รพ 3 แห่ง
สกัดข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย 2,000 ราย จาก รพ 4 แห่ง ธค 59-เมย 60 เก็บข้อมูลได้ 536 ราย จาก รพ 3 แห่ง
รวบรวมและบันทึกข้อมูลจากแบบเก็บข้อมูลลงบันทึกในคอมพิวเตอร์ 2,000 ราย จาก รพ 4 แห่ง ธค 59-เมย 60 เก็บข้อมูลได้ 536 ราย จาก รพ 3 แห่ง
พัฒนาแบบจำลอง Markov ได้แบบจำลองเบื้องต้น มีค 60-กค 60 กำลังจะเริ่มดำเนินการ
ตรวจสอบแบบจำลอง Markov แบบจำลองมีความถูกต้อง มิย 60-สค 60 ยังไม่ดำเนินการ
วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพชีวิตสภาวะความจำเสื่อม และต้นทุน และจัดทำรายงาน ได้รายงาน กค 60-กย 60 ยังไม่ดำเนินการ

* เก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้ป่วย จาก รพ ขอนแก่น 209 ราย รพ มหาสารคาม 184 ราย รพ ศรีนครินทร์ 143 ราย

5. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ / โครงการย่อย (ถ้ามี)

ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเก็บข้อมูลและพัฒนา Markov Model ทั้งนี้ได้นำผลงานเบื้องต้นในส่วนการสัมภาษณ์ข้อมูลคุณภาพชีวิตและค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-5 ไปนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ ในการประชุมวิชาการ 9th Annual Conference of Northeastern Pharmacy Research 2017 ในระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม 2560 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีแล้ว (ดังเอกสารแนบ)

6.รายละเอียดผลการดำเนินงาน

-กิจกรรมที่สำคัญตามลำดับ

1) การพัฒนา Markov model เพื่อใช้ในการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการมีระบบลงทะเบียน และการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบเข้มงวดและครอบคลุม ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ใน Markov model จึงต้องทำการเก็บข้อมูล และการทบทวนวรรณกรรม

  • การเก็บข้อมูลสัมภาษณ์คุณภาพชีวิต ด้วย EQ5D ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะต่างๆ
  • การเก็บข้อมูลสัมภาษณ์การรับบริการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่นๆ ที่ไม่ใช่สถานพยาบาลหลัก ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะต่างๆ
  • การเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ค่าใช้จ่าย ส่วนที่ผู้ป่วยต้องจ่ายเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะต่างๆ

2) การทบทวนวรรณกรรม ประสิทธิผลของ intervention ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

3) เก็บข้อมูลความจำเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

4) การเผยแพร่ผลงานวิจัย

 

-การบริหารกลุ่ม/กองทุน และการมีส่วนร่วมของ อบต./เทศบาล/หน่วยงานราชการ

ส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้อง

7.กลุ่มประชาชนเป้าหมายที่เข้าร่วม/รับประโยชน์ ตลอดจนนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วม (ระบุหน่วยงานความร่วมมือ ที่เป็นตัวเงิน/ไม่เป็นตัวเงิน)

นักวิชาการจากสถาบันอื่นมีดังนี้

ผศ.ดร. อรอนงค์ วลีขจรเลิศ                  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผศ.ดร. ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช              คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดร.สุรัชดา ชนโสภณ                          คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผศ.ดร.จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์              คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดร.วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม                    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นอกจากนี้ นักศึกษา ป. เอก ที่ทำวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ คือ

ภญ.อรนิฏา ธารเจริญ                        คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

8.การเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมใหม่ (การลงหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ การตีพิมพ์วารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รางวัลที่ได้รับเป็นต้น) ปี 2559 และ 2560)

มีการเผยแพร่ผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการ 9th Annual Conference of Northeastern Pharmacy Research 2017 ในระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม 2560 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีแล้เรื่องคุณภาพชีวิตและค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-5

*อ้างอิงข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้า 6 เดือน วันที่ 30 มีนาคม 2560