16/08/2016

โครงการย่อย “โครงการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

  1. หัวหน้าโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ถิ่นคำรพ
  1. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย เปรียบเทียบผลการดำเนินงานปี 2557 2558 2559

เป้าหมายของการดำเนินงานของโครงการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงรายละเอียดตามผลการดำเนินงาน ข้อ 4 – 6

  1. แผนและผลการดำเนินงาน (การเปรียบเทียบ)

แผนและผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงรายละเอียดตามรายกิจกรรมของแผนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

4.1      แผนการดำเนินงาน

กิจกรรม

ระยะเวลา (เดือนที่)

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
1. พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ CKDNET
2. อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบ
โครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ
ที่เกี่ยวข้องจังหวัดขอนแก่น
3. อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบ
โครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ
ที่เกี่ยวข้องจังหวัดร้อยเอ็ด

 

 

4. อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบ
โครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ
ที่เกี่ยวข้องจังหวัดชัยภูมิ
5. อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบ
โครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ
ที่เกี่ยวข้องจังหวัดมหาสารคาม
6. อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบ
โครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่
เกี่ยวข้องจังหวัดกาฬสินธุ์
7. เชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานบริการ
ปฐมภูมิ
8. จัดทำ health personal record

  1. ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานจำแนกตามรายกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

1.     พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ CKDNET –   อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งดำเนินการไปแล้วประมาณ 80% (รายละเอียดตามข้อ 6.1 )
2.     อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดขอนแก่น –   ได้ดำเนินการจัดอบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ โดยเชิญผู้รับการอบรมเข้าร่วมพร้อมกันภายใต้ชื่อ “การประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำ appropriate CKD model” วันที่ 6 มกราคม 2560 ณ ตึกเวชฯ คณะแพทยศาสตร์ มข. จำนวนผู้เข้าอบรม (รายละเอียดตามข้อ 6.1.5)
3.     อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดร้อยเอ็ด
4.     อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดชัยภูมิ
5.     อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดมหาสารคาม
6.     อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดกาฬสินธุ์
7.     เชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานบริการปฐมภูมิ – ได้เชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานบริการปฐม จำนวน 3 แห่ง (รายละเอียดตามข้อ 6.1.3)
8.     จัดทำ health personal record – Health personal record ได้ดำเนินการแล้ว โดยให้เป็นรูปแบบการรายงานที่อยู่ภายในระบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายละเอียดตามข้อ 6.1)

  1. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ / โครงการย่อย (ถ้ามี)
ลำ

ดับที่

โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัดที่กำหนด ผลประเมินตามตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ จำนวน

ครั้ง

ระยะเวลา (เดือนที่และจำนวนวัน)
1

 

พัฒนาระบบซอฟท์แวร์ CKDNET –  ระบบซอฟท์แวร์ CKDNET

 

1

 

เดือนที่ 1-12

(365 วัน)

– ระบบซอฟท์แวร์ CKD
NET ได้รับการพัฒนา
ขึ้นเป็น 3 ระบบย่อย (3 โครงการย่อย) ภายในระยะเวลา 12 เดือน
(365 วัน) ซึ่งยังอยู่ในช่วงดำเนินการ (รายละเอียดตามข้อ 6.1)
2 อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดขอนแก่น – มีการเชื่อมต่อระบบของรพ.ในจังหวัดขอนแก่น 2 เดือนที่ 2, 3

(60 วัน)

 

–  ในระหว่างพัฒนาระบบ เมื่อระบบพร้อมใช้งาน จึงได้มีการจัดอบรมการใช้งานแล้ว (รายละเอียดละเอียดตามข้อ 6.1.5)
3

 

อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดร้อยเอ็ด – มีการเชื่อมต่อระบบของ รพ.ในจังหวัดร้อยเอ็ด

 

2

 

เดือนที่ 4, 5

(60 วัน)

 

4

 

อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดชัยภูมิ – มีการเชื่อมต่อระบบของรพ.ในจังหวัดชัยภูมิ

 

2

 

เดือนที่ 6, 7

(60 วัน)

 

5 อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดมหาสารคาม – มีการเชื่อมต่อระบบของรพ.
ในจังหวัดมหา
สารคาม
2 เดือนที่ 8, 9

(60 วัน)

 

6 อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดกาฬสินธุ์ – มีการเชื่อมต่อระบของ รพ.ในจัง
หวัดกาฬสินธุ์
2 เดือนที่ 10, 11

(60 วัน)

7 จัดตั้งและประชุมคณะกรรมการดูแลการเข้าถึงฐานข้อมูล CKDNET – คณะกรรมการดูแลข้อมูล 12 เดือนที่ 1-12

(365 วัน)

– อยู่ในช่วงเลือกคณะ
กรรมการ
8 ประเมินผลการดำเนินงาน – ผลการดำเนินงาน 2 เดือนที่ 11, 12

(60 วัน)

– อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

  1. รายละเอียดผลการดำเนินงาน

6.1      โครงการที่ 1: การพัฒนาโมดูล CKDNET บนระบบ Thai Care Cloud

6.1.1    มีการพัฒนาเครื่องมือที่รองรับกิจกรรมของโครงการภายใต้ระบบฐานข้อมูลThai care cloud (https://www.thaicarecloud.org/) คือ ระบบฐานข้อมูลซอฟท์แวร์ CKD Module ประกอบด้วย (ดำเนินการไปได้ 80%)

– Dashboard หน้าแรก สรุปจำนนวนประชากรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด

– กำกับงาน EMR ที่สามารถใช้ค้นหาข้อมูลผู้ป่วยแบบ personal record

– Map แผนที่แสดงความสัมพันธ์กลุ่มประชากร

– รายงาน อยู่ในช่วงดำเนินการ

– Matrix อยู่ในช่วงดำเนินการ

– มีการเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบCKD registry (https://www.ckdnet.org/) p1

ภาพที่ 1 หน้าแรก

p2 

ภาพที่ 2 หน้ากำกับงาน

p3

ภาพที่ 3 หน้า EMR p4

ภาพที่ 4 หน้า Map

6.1.2    ระบบฐานข้อมูลซอฟท์แวร์ CKDNET (ดำเนินการไปได้ 60%)

– มีระบบจัดการข้อมูล ได้แก่ View/Export, EDAT, Annotated, CRF, Dictionary

– มีระบบตรวจสอบคุณภาพข้อมูล Validation tools

– มีรายงานข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคล -> ค้นหาผู้ป่วย -> เลือกฟอร์ม -> คลิกดูได้ทั้ง
สรุปผลและรายละเอียดตามแบบฟอร์ม ทั้งนี้ไม่สามารถดูข้อมูลข้ามหน่วยงานได้

– ระบบบันทึกข้อมูล จัดการข้อมูล และติดตามผู้ป่วย
p5

ภาพที่ 5 หน้าเว็บไซต์ CKDNET

6.1.3    เครื่องมือติดตั้งเชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานบริการปฐมภูมิ

  เป็น Application ที่ใช้ในการเชื่อมข้อมูลจากฐานข้อมูลสุขภาพ (Health Information System หรือ HIS) ของหน่วยบริการ มีหน้าที่ Synchronize ข้อมูลที่จำเป็นระหว่าง Isan Cohort กับ HIS เพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อน ลดข้อผิดพลาดการคีย์ข้อมูล ไม่รบกวนคนทำงานของผู้ใช้งาน และ Update สถานะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง เพราะ TDC จะส่งข้อมูล ที่ Update โดยอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ CKDNET คงอยู่เป็นฐานข้อมูลที่ทันสมัย ให้กับนักวิจัย โดย TDC จะดึงเอาเฉพาะข้อมูล 43+7+2 แฟ้มมาตรฐาน ทั้งนี้ ข้อมูล ชื่อ สกุล และเลข 13 หลัก ล้วนถูกเข้ารหัสก่อนส่งออกจาก HIS Server กล่าวอีกนัยหนึ่ง CKDNET เก็บข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วเท่านั้น โดยที่หน่วยงานเจ้าของข้อมูลเท่านั้นที่ถอดรหัสได้ เว้นแต่อาสาสมัครรายที่ให้คำยินยอมแล้ว

p6

ภาพที่ 6 เครื่องมือการติดตั้ง TDC

 

6.1.4    รายงานสรุปแบบ real time report (อยู่ในช่วงดำเนินการ)

p7

ภาพที่ 7 real time report draft

 

6.1.5    การอบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนโครงการปี 2560 ผ่านฐานข้อมูล CKDNET และ Thai care cloud โดยจัดประชุมเชิงเพื่อสอนและให้คำปรึกษาการใช้งานระบบให้กับบุคลากรภายในโครงการ ฯ

 

     p8
ภาพที่ 8 การประชุมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดขอนแก่น

p9

ภาพที่ 9 การประชุมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดร้อยเอ็ด

910

ภาพที่ 10 การประชุมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดมหาสารคาม

 

p11

ภาพที่ 11 การประชุมจัดตั้งคณะกรรมการดูแลข้อมูลเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดกาฬสินธุ์

 

ในการอบรมการใช้งานให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อยและเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ มหาสารคาม และกาฬสินธุ์

ได้ทำการสอนการใช้งานระบบให้กับผู้เข้าร่วมอบรมโดยเริ่มตั้งแต่การสมัครสมาชิกเข้าใช้ระบบ Thai care cloud และระบบ CKDNET รวมถึงการสร้างฟอร์มต่าง ๆ จากเครื่องมือ Ezform เพื่อนำมาร้อยเรียงสร้างเป็นหนึ่งโมดูล พบว่าผู้เข้าสามารถสร้างแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ได้ หากแต่ยังต้องขอความช่วยเหลือให้การสร้างโมดูล ซึ่งศูนย์ ฯ ได้จัดทำคู่มือการใช้งาน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดในแถบหน้าแรกของระบบ

จากการสร้างโมดูล ผู้สร้างจะสามารถเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้เอง และสามารถแชร์ข้อมูลที่ต้องการลิงค์ (link) ให้บุคลากรบางท่านที่เกี่ยวข้องได้ ดังนั้นจะทำให้สะดวกในการติดต่อการใช้ข้อมูลผู้ป่วยโรคไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

  p12
ภาพที่ 12 อบรมการใช้งาน ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการย่อย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

 

6.2      โครงการที่ 2: การพัฒนา Mobile Application ชื่อ CKD รักษ์ไต บนระบบ Thai Care Cloudได้มีการพัฒนา Mobile Application ชื่อ CKD รักษ์ไต เพื่อให้ผู้ใช้งานทุกระดับทั้งกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคไต สามารถดาวน์โหลดใช้งานฟรีผ่าน Play store

– สามารถดาวน์โหลด app. รักษ์ไต ผ่านช่องทาง play store

– เลือกประเภทผู้ใช้งานและยืนยันการใช้งาน

– ประเภทผู้ใช้งานมีดังนี้ คือ บุคคลทั่วไป DM&HT (เบาหวานและความดันโลหิต) CKD&HD
(โรคไตเรื้อรังหรือผู้ป่วยฟอกไต) และ CAPD (ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง)

– ประเภทไอคอน (icon) มีดังนี้คือ ชีพจรและความดัน ค่าระดับน้ำตาลในเลือด อัตราการทำงานของไต บันทึกประจำวันล้างไต สถานะน้ำยาล้างไต และ ภาพแลและน้ำยา

– เชื่อมต่อข้อมูล CKD-PD ระหว่าง mobile app. กับ web app. ของ Thai care cloud
ซึ่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถเห็นข้อมูลผู้ป่วยโรคไตโดยตรงผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต
หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ติดตามอาการ และให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งช่วยลด
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาลของผู้ป่วยได้

 

p13

ภาพที่ 13 ประชุมหารือเพื่อพัฒนา mobile app.

 

p14

ภาพที่ 14 สอนการใช้งาน CKD-PD app.

 

6.3      โครงการที่ 3: การพัฒนาต้นแบบระบบอัจฉริยะดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันและไตเสื่อมภายใต้ระบบจัดการ Thai Care Cloud ชื่อ “หุ่นรองบาท” (อยู่ในช่วงประชุมเตรียมดำเนินการ)

ขณะนี้อยู่ในช่วงพัฒนาฮาร์ดแวร์เครื่องชั่งอัจฉริยะ ซึ่งสามารถอ่านค่าน้ำหนัก อัพโหลดภาพถ่ายหรือไฟล์ต่าง ๆ และเล่นเสียง  โดยมีระบบซอฟท์แวร์ที่สามารถส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยจากระบบ Thai care cloud เข้ามาที่เครื่องชั่งอัจฉริยะได้ ขณะที่ผู้ป่วยชั่งน้ำหนัก ทีมแพทย์ และพยาบาล จะสามารถมองเห็นข้อมูลที่ไหลเข้าระบบฐานข้อมูล ทำให้ลดภาระการทำงานของทีมแพทย์ และพยาบาลได้ และผู้ป่วยไม่เสียเวลารอคิวตรวจที่โรงพยาบาล

 

  1. กลุ่มประชาชนเป้าหมายที่เข้าร่วม/รับประโยชน์ ตลอดจนนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วม (ระบุหน่วยงานความร่วมมือ ที่เป็นตัวเงิน/ไม่เป็นตัวเงิน)

หน่วยที่เกี่ยว

บทบาท

1. โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2. เทศบาลเมืองชัยภูมิ

3. ประชากรในประเทศไทยที่ป่วยโรคไต

ผู้สนับสนุนทุนงบประมาณ

 

ผู้ร่วมดูระบบ CKDNET tool

กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคไต

 

  1. การเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมใหม่ (การลงหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ การตีพิมพ์วารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รางวัลที่ได้รับเป็นต้น) ปี 2559 และ 2560)

p15-1 p15-2

ภาพที่ 15 เผยแพร่การใช้งาน CKD registry & CKD-PD app. ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัย

p16

ภาพที่ 16 เผยแพร่การใช้งาน CKD registry & CKD-PD app. ผ่านทาง facebook

p17

ภาพที่ 17 เผยแพร่การใช้งาน CKD registry & CKD-PD app. ผ่านทางเว็บไซต์ Thai care cloud

p18-1 p18-2

ภาพที่ 18 เผยแพร่โดยการจัดบูธประชาสัมพันธ์

 

  1. ปัญหา ข้อจำกัดและแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขงบประมาณ 2560 (งวดที่ 1)

  1. ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ

ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติได้พัฒนาระบบตามที่กล่าวมาข้างต้น และได้ทำการทดลองใช้งาน จึงเห็นว่าการทำให้ระบบง่ายต่อการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น จึงกำลังดำเนินการพัฒนา CKD line bot ขึ้นเพื่อเป็นอีก 1 ช่องทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบเช่นเดียวกับ Mobile application และใช้งานง่าย สะดวกยิ่งขึ้น

*อ้างอิงข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้า 6 เดือน วันที่ 30 มีนาคม 2560