16/08/2016

ผลผลิต ผลลัพธ์ และดัชนีชี้วัด

แบ่งเป็นตัวชี้วัดทางด้านผลงานการบริการและการเผยแพร่ข้อมูล

ผลผลิต ผลลัพธ์ และดัชนีชี้วัดด้านบริการ เมื่อดำเนินการครบ 5 ปี และครอบคลุม 20 จังหวัด

  • จำนวนโรงพยาบาลเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 แห่งต่อปี
  • จำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 100,000 รายต่อปี
  • จำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการประเมินและตรวจรักษา จำนวน 5,000 รายต่อปี
  • จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษาเพิ่มขึ้น จำนวน 3,000 รายต่อปี
  • จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการดูแลแบบองค์รวม จำนวน 200,000 รายต่อปี
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับดูแลครบถ้วนตามมาตรฐานของแนวทางเวชปฏิบัติ ร้อยละ 60
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่อัตราการทำงานของไตคงที่ [การทำงานของไตคงอยู่ในระยะ (CKD staging) เดิม] ร้อยละ 50
  • จำนวนบุคลากรการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนอบรม จำนวน 10 รายต่อปี
  • จำนวนประชาชน ผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ใช้บริการระบบดิจิตอลที่เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง
  • จำนวน อสม. ที่ได้รับการอบรม จำนวนปีละ 250 รายต่อจังหวัด
  • มีการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้และตรวจสุขภาพไตในชุมชน
  • จำนวนเครือข่ายโรคไตในชุมชนจังหวัดละ 1 แห่ง จำนวน 20 จังหวัด
  • จำนวนประชุมวิชาการปีละ 2 ครั้ง

ดัชนีชี้วัดผลงานที่ได้รับการเผยแพร่

  •  มี ผู้ป่วยที่ร่วมอยู่ในโครงการย่อย “โครงการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรคไตเรื้อรังในภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ” จำนวน  300,000-500,000 ราย
  • มีผู้ป่วยที่ร่วม อยู่ในโครงการย่อย “โครงการพัฒนาแนวทางดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอย่างเข้มงวดและครอบคลุมแบบ องค์รวม” จำนวน 100,000-200,000 ราย
  • มีผู้ป่วยที่ร่วมอยู่ในโครงการ ย่อย “โครงการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังแบบ เข้มงวด”จำนวน 100,000-200,000 ราย
  • มีผู้ป่วยที่ร่วมอยู่ในโครงการย่อย “โครงการการป้องกันและลดโรคไตเรื้อรังในชุมชน” จำนวน 3,000-3,500 ราย
  • มีผลงานเผยแพร่ในวารสารระดับชาติอย่างน้อยปีละ 2 เรื่อง และวารสารนานาชาติ อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง
  • มีการนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการแก่สังคม ปีละ 1 ครั้ง