วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการ
- เพื่อ รณรงค์ให้เประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ตระหนักถึงภยันตรายของโรคไต เรื้อรัง และตรวจหาผู้ป่วยที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ให้เข้ามาสู๋ระบบการรักษาที่เหมาะสม
- เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงและชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว
- เพื่อตรวจหาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ทั้งในกลุ่มเสี่ยงที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลและในชุมชน
- เพื่อ เพิ่มจำนวนผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่แนะนำในแนวทางเวช ปฏิบัติ หลังจากที่มีระบบดูแลผู้ป่วยแบบเข้มงวดและครอบคลุมแบบองค์รวม รวมถึงศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้ไม่บรรลุการรักษาที่เหมาะสม
- เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ โดยต่อยอดความรู้จากที่เคยศึกษาในชุมชนมาก่อน
- เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ ชื่อ CKDNET สำหรับการลงทะเบียน บันทึกการให้บริการ การติดตาม และประเมินผลการรักษาโดยให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างหน่วยบริการแบบไร้รอยต่อ โดยให้สามารถใช้งานบนอินเตอร์เน็ต แบบ real time และสามารถติดตามผลได้ในระยะยาว รวมถึงมีการประเมินประโยชน์ที่ได้จากการติดตั้งซอฟต์แวร์
- เพื่อพัฒนาแนวทางการลดและชะลอไตเสื่อม ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด
- เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ ตลอดจนองค์กร ภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไต
- เพื่อศึกษาต้นทุนและประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแล ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบเข้มงวดและครอบคลุมแบบองค์รวม
- เพื่อ สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบจัดบริการระดับเขต ในประเด็นการลงทุนเพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบเข้มงวดและ ครอบคลุมแบบองค์รวม
- เพื่อศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคไตเแก่สาธารณะ
เป้าหมาย
- มีการตรวจพบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่และมีการลงทะเบียนเพื่อติดตามผู้ป่วยได้อย่างมีระบบ
- สัดส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตามแนวเวชปฏิบัติมากขึ้น
- สามารถลดหรือชะลออัตราการเสื่อมของไต เมื่อใช้ระบบดูแลผู้ป่วยแบบเข้มงวดและครอบคลุมแบบองค์รวม ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด
- มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในยี่สิบจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- มีการวางแผนการดำเนินการวิจัยและบริการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการป้องกันและชะลอไตเสื่อม
- มีระบบซอฟท์แวร์ทีมีประสิทธิภาพในการดูแล ติดตาม และสนับสนุนระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- เกิดโครงการวิจัยที่มีศักยภาพในการขอรับทุนอุดหนุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- เกิดการทบทวนวรรณกรรมที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคม
- ผล งานของโครงการได้รับการเผยแพร่ในวารสารระดับชาติและหรือระดับนานาชาติ รวมถึงได้รับการนำเสนอในเวทีแวดวงต่างๆทั้งด้านวิชาการและสังคม
- เป็นกลุ่มถ่ายทอด เผยแพร่เทคโนโลยี นวัตกรรม และความรู้โรคไตเรื้อรังแก่ประชาชนทั่วไป
- มีผลการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการมีระบบลงทะเบียนและการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบเข้มงวดและครอบคลุม