สูตรการคำนวณนี้เป็นเพียงการประเมินการทำงานของไตเบื้องต้น การวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง อาจต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมในผู้ป่วยบางราย เช่น ตรวจวิเคราะห์เพื่อดูตะกอนปัสสาวะ การตรวจเลือดประเมินเกลือแร่ในร่างกาย การเอกซเรย์ การตรวจชิ้นเนื้อไต และการแปลผลร่วมกันโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากมีข้อสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมต่อไป
สูตรการคำนวณนี้ อาจจะมีค่าเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริงได้ในประชากรเด็กต่ำกว่า 18 ปี, ผู้สูงอายุ, เชื้อชาติอื่นๆ, หญิงตั้งครรภ์, ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมากหรือน้อยผิดปกติ, รูปร่างอ้วนมากหรือผู้พิการแขนหรือขา
ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อใช้ในการคำนวณค่าการทำงานของไต ระบบไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปสู่การระบุตัวตน และมิได้นำไปเผยแพร่เพื่อการพาณิชย์
ค่าครีอะตินีนในเลือด ท่านสามารถทราบค่าได้จากการตรวจเลือด โดยอาจสอบถามแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ท่านรับบริการ หากพบว่าการทำงานของไตผิดปกติโดยไม่เคยวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจยืนยัน
ค่าโปรตีนในปัสสาวะ ได้จากการตรวจปัสสาวะเพื่อหาปริมาณโปรตีนทั้งหมด หรือโปรตีนชนิดอัลบูมิน โดยระบุปริมาณต่อวัน หรืออาจใช้แถบปัสสาวะที่รายงานเป็นค่าบวก ท่านอาจเลือกเติมค่าใดค่าหนึ่งในช่องชนิดของโปรตีนที่กำหนด (หากพบว่ามีโปรตีนในปัสสาวะออกมามากผิดปกติโดยไม่เคยวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจยืนยัน ) ในกรณีไม่ทราบค่าโปรตีนในปัสสาวะ สามารถเว้นว่างโดยไม่ลงค่าในช่องที่กำหนด
Levey AS, Stevens LA, et al.A New Equation to Estimate Glomerular Filtration Rate.Ann Intern Med. 2009; 150:604-612.
Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) CKD Work Group. KDIGO 2012 Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease.Kidney Int Suppl. 2013;3:1–150.
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕
การดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง.สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕