04/04/2017

โครงการอาสาสร้างเสริมสุขภาพถวายพ่อ: กิน…อยู่…อย่างไร?…ไกลไตเสื่อม

1.1.10 โครงการอาสาสร้างเสริมสุขภาพถวายพ่อ: กิน…อยู่…อย่างไร?…ไกลไตเสื่อม

  1. ชื่อโครงการ โครงการอาสาสร้างเสริมสุขภาพถวายพ่อ: กิน…อยู่…อย่างไร?…ไกลไตเสื่อม
  2. หัวหน้าโครงการ ชูศรี คูชัยสิทธิ์
  3. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย เปรียบเทียบผลการดำเนินงานปี 2557 2558 2559

รายการ/พ.ศ.

2557 2558 2559

2560

ระยะที่ 1

สร้างแกนนำและพัฒนาสื่อ

 

กลุ่มเป้าหมาย

ประชุมแกนนำอาสาในการพัฒนาสื่อ

ผลการดำเนินงาน

*มีสื่อ“ลำกลอนและสรภัญญะ: ป้องกันไตเสื่อม” ในรูป CD

*จัดทำโปสเตอร์ 4 ประเภท:

-ปริมาณโซเดี่ยมในเมนูอาหาร

-ความสำคัญของโซเดี่ยม

-ถนอมรักษาไตด้วยอาหารที่มีเครื่องปรุงโซเดี่ยมน้อย

-ลดเค็ม ลดโรค

* ทั้งสื่อ“ลำกลอนและสรภัญญะ

และโปสเตอร์ได้เผยแพร่ในงานบุญผะเหวต ของคณะศึกษาศาสตร์ เมื่อวันที่ 17-19 มีนาคม 2560 และ วันที่ 25 มีนาคม 2560 เผยแพร่ในงานผ้าป่า ณ วัดป่าโนนพระ บ้านหัวนาคำ ตำบลหัวนาคำ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธ์ มีคนร่วมงาน 300 คน ในภาคเช้า

ระยะที่ 2

ขยายผลสู่ผู้ประกอบการอาหาร

 

กลุ่มเป้าหมาย

-สร้างความเข้าใจการป้องกันไตเสื่อมในผู้ประกอบการอาหารในคณะแพทยศาสตร์

ผลการดำเนินงาน

-มีร้านอาหารสมัครตรวจปริมาณโซเดี่ยม จำนวน 7 ร้านจาก 8 ร้าน ไม่นับร้านส้มตำ

-ผลการตรวจปริมาณโซเดี่ยม

* ประเภทข้าวลาดกับต่อ 1 จาน พบปริมาณโซเดี่ยม ตั้งแต่ 737-1042 มิลลิกรัม

* ประเภทอาหารน้ำกับต่อ 1 ชาม พบปริมาณโซเดี่ยม ตั้งแต่ 2060-2862 มิลลิกรัม

 

  1. แผนและผลการดำเนินงาน (การเปรียบเทียบ)

 

แผนงาน

ผลการการดำเนินงาน

ระยะที่1 สร้างแกนนำอาสา

1.ประชุมเสวนา นักศึกษา และรับสมัครแกนนำอาสาเพื่อสร้างเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ

 

2.จัดอบรมและฝึกทักษะแกนนำอาสา

 

3.แกนนำอาสาร่วมกันพัฒนาสื่อในรูปแบบต่างๆเพื่อการปรับพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกต้อง เพื่อขยายผลสู่นักเรียนนักศึกษา และประชาชนในชุมชน เช่น จัดทำCD/YouTube หมอลำ ลำกลอน สรภัญญะ ฯลฯ จัดทำfb/online การ์ดใช้พกติดตัวได้ โปสเตอร์รณรงค์ เป็นต้น

 

 

1.  ประชุมแกนนำนักศึกษาที่มีอยู่ดั้งเดิมเพื่อทำความเข้าในเกี่ยวกับโรคไตและป้องกันไตเสื่อม เพื่อใช้การจัดทำลำกลอนและสรภัญญะได้ตรงเป้าหมาย

 

2.  ยังไม่ได้ดำเนินการ

3. *มีสื่อ CD “ลำกลอนและสรภัญญะ: ป้องกันไตเสื่อม”

*มีโปสเตอร์ 4 ประเภท ประกอบด้วย

1) ปริมาณโซเดี่ยมในเมนูอาหาร

2) ความสำคัญของโซเดี่ยม

3) ถนอมรักษาไต ด้วยอาหาร ที่มีเครื่องปรุงโซเดี่ยมน้อย

4) ลดเค็ม ลดโรค

* การเผยแพร่

สื่อ CD “ลำกลอนและสรภัญญะ” ถวายเจ้าอาวาทวัดป่าโนนพระ และผู้ใหญ่บ้าน (เผยแพร่ทางหอกระจายข่าว) บ้านหัวนาคำ ตำบลหัวนาคำ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธ์

* ร่วมงานในวันไตโลก 9 มีนาคม 2560

* โปสเตอร์ได้เผยแพร่ ทาง face book

 

ระยะที่ 2 ขยายผลสู่ผู้ประกอบการ

กิจกรรมขยายผลโดยการสร้างเครือข่ายการป้องกันไตเสื่อมในกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร

– กิจกรรมเยี่ยมสถานประกอบการอาหาร 3 ครั้งๆ

 

(ร้านอาหารนำร่องใน คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น)

-ประชุมสร้างความเข้าใจการป้องกันไตเสื่อมในกลุ่มผู้ประกอบการอาหารในคณะแพทยศาสตร์ โดยที่ปริมาณโซเดี่ยม ต่อมื้อ 650 มิลลิกรัมต่อจานวันที่30ม.ค.60

-มีร้านอาหารสมัครตรวจปริมาณโซเดี่ยม จำนวน 7 ร้าน(จาก 8 ร้าน ไม่นับร้านส้มตำ)

-16 ก.พ. 60 ส่งตัวอย่างอาหารตรวจปริมาณโซเดี่ยมจำนวน 10 ตัวอย่าง ผลการตรวจ พบข้อมูลดังนี้

* ประเภทข้าวลาดกับต่อ 1 จาน พบปริมาณโซเดี่ยม ตั้งแต่ 737-1042 มิลลิกรัม

* ประเภทอาหารน้ำกับต่อ 1 ชาม พบปริมาณโซเดี่ยม ตั้งแต่ 2060-2862 มิลลิกรัม

– 27-31 มีนาคม ชี้แจงรายร้านอาหารเพื่อรับทราบและหารือในการปรับลดปริมาณโซเดี่ยม และยินดีให้ความร่วมมือส่งตรวจอาหารอีกครั้ง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการ 20 เม.ย.60

 

  1. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ / โครงการย่อย (ถ้ามี)

1 มีแกนนำที่มีศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ได้

2 มีสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น CD fb/onlineและมีadminบริหารจัดการการ์ดพกติดตัว

3 มีข้อมูลแสดงโภชนาการ เช่น ป้ายเมนูที่ระบุปริมาณเกลือ/น้ำตาลในโรงอาหารนำร่องของ มข.

4.โรงเรียนนำร่องประกาศนโยบายลดน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยวส่งเสริมรับประทานผักผลไม้ และมีเมนูอาหาร

กลางวันแสดงชัดเจน

ผลลัพธ์ในระยะ 6 เดือน

           – มีสื่อ CD “ลำกลอนและสรภัญญะ: ป้องกันไตเสื่อม”

           – มีโปสเตอร์ 4 ประเภท ประกอบด้วย

1) ปริมาณโซเดี่ยมในเมนูอาหาร

2) ความสำคัญของโซเดี่ยม

3) ถนอมรักษาไต ด้วยอาหาร ที่มีเครื่องปรุงโซเดี่ยมน้อย

4) ลดเค็ม ลดโรค

  1. รายละเอียดผลการดำเนินงาน (แสดงใน ข้อ 3 และ 4)

-กิจกรรมที่สำคัญตามลำดับ

-การบริหารกลุ่ม/กองทุน และการมีส่วนร่วมของ อบต./เทศบาล/หน่วยงานราชการ

 

ลำดับ

แผนงาน/กิจกรรม 2557 2558 2559

2560

 

1

2

3

  1. กลุ่มประชาชนเป้าหมายที่เข้าร่วม/รับประโยชน์ ตลอดจนนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วม(ระบุหน่วยงานความร่วมมือ ที่เป็นตัวเงิน/ไม่เป็นตัวเงิน)

– นักศึกษา ร้านประกอบอาหาร และประชาชนทั่วไป

  1. การเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมใหม่ (การลงหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ การตีพิมพ์วารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รางวัลที่ได้รับเป็นต้น) ปี 2559 และ 2560)

  1. ปัญหา ข้อจำกัดและแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขงบประมาณ 2560 (งวดที่ 1)

 

ปัญหา ข้อจำกัด

ระยะที่ 1 สร้างแกนนำอาสาโดยการจัดอบรมและฝึกทักษะแกนนำอาสา มีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นช่วงนักศึกษาเตรียมสอบ

ระยะที่ 2 การจัดอบรมและสนทนาทำความเข้าใจกับร้านประกอบการ มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ต้องเก็บเงิน บางร้านปิดร้านบ่าย 3 ต้องไปจ่ายอาหาร

แนวทางในการปรับปรุง

– ระยะที่ 1 ใช้แกนนำนักศึกษาที่มีอยู่ดั้งเดิมประชุมใช้เวลาสั้นเพื่อทำความเข้าในเกี่ยวกับโรคไตและป้องกันไตเสื่อม เพื่อสามารถการจัดทำสื่อลำกลอนและสรภัญญะได้ตรงเป้าหมาย

– ระยะที่ 2 นัดสนทนาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเมนูสุขภาพรักษ์ไต เสนอให้มีการตรวจปริมาณโซเดี่ยม และให้ร้านอาหารเสนอความคิดเห็น โดยให้มีป้ายรับรอง เมนูรักษ์ไต เมื่อผลการตรวจวิเคราะห์ผ่าน

– ได้ปรับใช้งบประมาณการอบรมใช้เป็นค่าตรวจตรวจปริมาณโซเดี่ยม

 

  1. ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ
  2. ปรับแผนดำเนินการ โดยพบผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจง เมนูรักษ์ไต(ลดโซเดี่ยม/ลดเค็ม) และ ให้การสนับสนุน ทีมอาสาฯเข้าชี้แจงและเสวนาข้อมูลเพื่อให้ บุคลลากร นักศึกษา ได้รับรู้ ตระหนัก และส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
  3. ปรับแผนดำเนินการขยายผลสู่โรงเรียนมัธยมในจังหวัดขอนแก่น โดย จัดให้มีการประกวดสื่อความรู้ “คลิปวิดีโอ: รณรงค์การลดบริโภคอาหารที่มีโซเดี่ยมสูง”
  4. ปรับแผนดำเนินการสร้างแกนนำอาสาทั่วไป โดยจะเข้าพบผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ เนื่องจากนักศึกษาคณะนี้จะจบไปเป็นอาจารย์ในโรงเรียนต่างๆ

*อ้างอิงข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้า 6 เดือน วันที่ 30 มีนาคม 2560